ประวัติภาควิชาภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์

ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ความสำคัญและประวัติความเป็นมา

สถิติเป็นศาสตร์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้จากการที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชการที่ 9 ทรงเป็นธุระในการติดต่อกับ Dr. David Rockefeller จาก Rockefeller Foundation ด้วยพระองค์เอง โดยทรงขอให้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติ จากสหรัฐอเมริกามาช่วยพัฒนาบุคลากรทางสถิติและระบบสถิติในประเทศไทย

ภาควิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เดิมเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ ในปี พ.ศ.2525 ได้จัดตั้งเป็นภาควิชาสถิติประยุกต์ สอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีเป็นรุ่นแรกในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์และเมื่อปี พ.ศ.2544 ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติประยุกต์

พันธกิจหลักของภาควิชาสถิติคือ การผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการประยุกต์ โดยใช้สื่อการสอนที่หลากหลายและเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยได้ทำการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน เพื่อสนองตอบความต้องการของตลาดในภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ภาครัฐและหน่วยงานต่างๆ

ความพร้อมด้านกายภาพและสิ่งสนับสนุนของภาควิชา

ทางภาควิชาฯได้จัดเตรียมห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มีหน่วยประมวลผลกลาง Intel® Core™ i7 CPU@3.40GHz System 64 bit Ram 6 GB รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ได้แก่ Visualizer, Projector, Pointer และชุดเครื่องเสียงรวมทั้งไมโครโฟน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีจัดเตรียมห้องปฏิบัติการสำหรับการศึกษาและค้นคว้าอิสระนอกเวลาการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรีและโท พร้อมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่องพิมพ์เอกสารผ่านระบบเครือข่าย และสแกนเนอร์

เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและเสริมสร้างทักษะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ โดยทางภาคได้จัดเตรียมซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องได้แก่ SPSS, Minitab, Arena และ SAS เป็นต้น

ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

M

นักศึกษาภาควิชาสถิติได้เข้าร่วมโครงการฝึกงานหรือสหกิจศึกษากับบริษัทชั้นนำต่างๆในประเทศ ดังนี้

• United Technology Development Co.,Ltd., Thailand

• Federal Electric Corp., Ltd., Thailand

• D-Conceit Co.,Ltd., Thailand

• Dunnhumby, Thailand

• In-Touch Research & Consultancy Co.,Ltd., Thailand

• สำนักงานสถิติแห่งชาติ

• การท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

• บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

• โรงพยาบาลกรุงเทพ

• สำนักงานสรรพากรพื้นที่

• โรงพยาบาลกรุงเทพ

• ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่

• ฝ่ายสารสนเทศและพยากรณ์ ส่วนอุทกภัย กรมชลประทาน

• บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค กันยงวัฒนา จำกัด

• บริษัท หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศ

V

นักศึกษายังมีโอกาสเข้าร่วมโครงการฝึกงานและแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยในต่างประเทศเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะความรู้ ได้แก่

• Ho Chi Minh City University of Technology, Vietnam

• Harbin Institute of Technology, China

• Tokai University, Japan

โอกาสในการประกอบอาชีพ

H

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาสามารถไปประกอบอาชีพได้หลากหลายอาทิเช่น

• พนักงานด้าน Logistics/Supply

• นักวิเคราะห์ข้อมูล/นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

• นักวิเคราะห์การเงิน

• นักสถิติประกันภัย

• เจ้าหน้าที่วิจัยตลาด

• เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และวางแผน

• โปรแกรมเมอร์

• อาจารย์ เป็นต้น